มาลัยตุ้ม

มาลัยตุ้ม   หมายถึง   มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นรูปกลม  โดยเริ่มต้นจะเป็นวงกลมขนาดเล็กแล้วค่อย  ๆ ใหญ่ขึ้น   หรือกว้างขึ้นทีละน้อยมาถึงประมาณช่วงกลางแล้วค่อย ๆ  ลดลงทีละน้อย  ให้มีขนาดเท่ากับตอนแรก  ๆ   จนกระทั่งเหมือนตอนขึ้นต้น    ส่วนลักษณะรูปทรงตามยาวนั้นคล้ายดอกบัวตูม  ช่วงหัวท้ายเรียว    ตรงกลางป่องโค้งมน
มาลัยตุ้มขนาดเล็กสุดนิยมร้อย   9   ชั้น   และขนดใหญ่ที่สุด  15  ชั้น  การร้อยมาลัยตุ้มจำนวนชั้นจะต้องเป็นเลขคี่เสมอ  เช่น  9 , 11 , 13  และ  15
         มาลัยตุ้มมี   2   แบบ คือ
         1.แบบมีลาย         2.แบบไม่มีลาย


วิธีการร้อยมาลัยตุ้ม  มีหลักสำคัญดังต่อไปนี้
         1.จะต้องเริ่มต้นร้อยด้วยดอกเล็ก  หรือกลีบเล็กก่อนควรส่งก้านหรือส่งกลีบสั้นที่สุด  และชั้นต่อ ๆ ไป ควรส่งก้านให้ยาวขึ้นทีละน้อย  ๆ  จนถึงช่องราวประมาณครึ่งเป็นช่วงที่มีความป่องโตเต็มที่   เท่ากับขนาดที่ต้องการ  ( ช่อง  2 – 3  แถว ตรงกลาง )   แล้วค่อย  ๆ  ส่งก้านสั้นลงทีละน้อย  ย้อนกลับมาเท่ากับขนาดตอนขึ้นต้น
        2.ความยาวของมาลัยตุ้มประมาณ  2.5  นิ้ว – 3.5  นิ้ว   ต้องระวังอย่าร้อยให้ยาวนัก  เพราะมองดูแล้วจะกลายเป็นมาลัยตัวหนอนไป 
        3.การขึ้นต้นมาลัยตุ้มนั้น จำนวนดอกหรือกลีบไม่แน่นอนย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของดอกหรือกลีบด้วยว่า  มีขนาดเล็กหรือใหญ่ ถ้าดอกใหญ่หรือกลีบใหญ่ก็ขึ้นจำนวนกลีบน้อยแล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามความเหมาะสมในชั้นต่อๆ ไป   เช่น ถ้าดอกพุดตูม ดอกมะลิตูม ( ขนาดเล็ก )  หรือกลีบกุหลาบ จะขึ้นต้นประมาณ  5  ดอก  หรือ  5  กลีบ แต่ถ้าเป็นดอกบานไม่รู้โรยจะขึ้นต้นเพียง  1  ดอกเท่านั้น


       

แผนผังมาลัยตุ้มแบบไม่มีลาย
                                                                             มาลัยตุ้มขนาด  9  ชั้น
แถวหรือชั้นที่                                                                                                                                     จำนวนกลีบ
    9                                                                 0        0        0        0        0                                           5
    8                                                           0        0         0        0        0        0                                      6
    7                                                      0       0         0         0        0        0        0                                  7
    6                                                  0       0        0         0        0        0        0       0                              8
    5                                              0      0        0        0         0        0        0        0                                  8
    4                                                  0       0        0         0        0        0        0        0                             8
    3                                                      0        0        0         0        0        0        0                                  7
    2                                                           0        0         0        0        0        0                                       6
    1                                                                0         0        0        0        0                                            5

    กลีบที่                                                        1        2         3        4        5
       0         =  กลีบกุหลาบ
    วิธีทำ
    ชั้นที่  1  กุหลาบ  5  ร้อยโดยรอบเข็ม  จัดวางระยะห่างระหว่างแต่ละกลีบให้เท่ากัน
    ชั้นที่  2  กุหลาบ  6  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกุหลาบกลีบสุดท้ายกับกลีบที่  1  ของชั้นที่  1  กลีบต่อ ๆ ไป ก็ร้อยให้สับหว่างกันไปเรื่อย )
    ชั้นที่  3  กุหลาบ  7  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกุหลาบกลีบสุดท้ายกับกลีบที่  1  ของชั้นที่  2 )
    ชั้นที่  4  กุหลาบ  8  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกุหลาบกลีบสุดท้ายกับกลีบที่  1  ของชั้นที่  3 )
    ชั้นที่  5  กุหลาบ  8  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกุหลาบกลีบสุดท้ายกับกลีบที่   1  ของชั้นที่ 4 )
    ชั้นที่  6  กุหลาบ  8  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกุหลาบกลีบที่  1  กับ  2  ของชั้นที่  5 )
    ชั้นที่  7  กุหลาบ  7  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกุหลาบกลีบที่  1  กับ  2  ของชั้นที่  6 )
    ชั้นที่  8  กุหลาบ  6  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกุหลาบกลีบที่  1  กับ  2  ของชั้นที่  7 )
    ชั้นที่  9  กุหลาบ  5  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกุหลาบกลีบที่  1  กับ  2  ของชั้นที่  8 ) 

    หมายเหตุ    การร้อยกลีบในแต่ละชั้น    ให้สับหว่างกันทุกชั้น   ชั้นที่   4 ,  5  และ  6   เป็นชั้นที่อยู่ในช่วงที่กว้างสุดของมาลัยแบบนี้   เมื่อร้อยออกมาแล้วจะได้มาลัยตุ้มที่มีลักษณะรูปทรงที่สวยงาม   เพราะมีช่วงตรงกลางป่องมนกลมกลืนกัน 

แผนผังมาลัยตุ้มแบบมีลาย
                                                                   มาลัยตุ้มลายขนมเปียกปูนสอดไส้
แถวหรือชั้นที่                                                                                                                                     จำนวนกลีบ
    13                                                              0        0        0        0        0                                           5
    12                                                        0        0         0        0        0         0                                     6
    11                                                    0       0         0         0        0        0        0                                7
    10                                                0       0        0         x        0        0        0                                      7
    9                                              0       0       0        x         x        0        0         0                                8
    8                                          0       0       0       x        @       x        0        0         0                            8
    7                                               0       0      x       @       @       x         0        0        0                        9
    6                                          0       0       0      x         @       x        0        0        0                             9
    5                                               0      0       0        x         x        0        0        0                                 8
    4                                                   0       0       0         x        0        0        0                                      7
    3                                                        0      0        0        0         0         0        0                                7
    2                                                            0       0        0         0        0        0                                      6
    1                                                                0        0       0          0       0                                            5

    กลีบที่                                                        1        2        3         4        5


0    =  กลีบกุหลาบ        x     =  ใบกระบือหรือใบแก้ว หรือใบมิอื่น ๆ    @   =   ดอกหญ้าผักคราด ( ผักเผ็ด )  หรือดอกเบญจมาศน้ำ หรือกลีบบานบุรี
    วิธีทำ
    ชั้นที่  1  กุหลาบ  5  ร้อยโดยรอบเข็ม  จัดวางระยะห่างระหว่างแต่ละกลีบให้เท่ากัน
    ชั้นที่  2  กุหลาบ  6  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกุหลาบกลีบสุดท้ายกับกลีบที่  1  ของชั้นที่  1  ส่วนกลีบอื่น ๆ ก็สับหว่างไปเรื่อย ๆ )
    ชั้นที่  3  กุหลาบ  7  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกลีบสุดท้ายกับกลีบที่  1  ของชั้นที่  2 )
    ชั้นที่  4  กุหลาบ  3  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกลีบสุดท้ายกับกลีบที่  1  ของชั้นที่  3 )ใบ  1  กุหลาบ  3
    ชั้นที่  5  กุหลาบ  3  (  กลีบแรกอยู่ระหว่างกลีบสุดท้ายกับกลีบที่  1  ของชั้นที่  4 )ใบ  2  กุหลาบ  3
    ชั้นที่  6  กุหลาบ  3  ( กลีบแรกอยู่ระหว่างกลีบสุดท้ายกับกลีบที่  1  ของชั้นที่  5 )  ใบ  1  ดอกหญ้า  1  กุหลาบ  3

หน้าที่ใช้สอยของมาลัยตุ้ม
         1.ใช้เป็นมาลัยชำร่วยให้แก่แขกที่มาในงาน เช่น งานหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ในพิธีมงคลสมรส  หรือในโอกาสต่าง ๆ
         2.ใช้เป็นส่วนประกอบตกแต่งในงานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทย เช่น งานเครื่องแขวนดอกไม้สดของไทย
         3.ร้อยใส่ไม้ไผ่แหลม ๆ  ต่อก้านแล้วปักแจกัน  หรือจัดดอกไม้สดในโอกาสต่างๆ
         4.ใช้เป็นส่วนประกอบของมาลัยเปีย
         5.ใช้เป็นส่วนประกอบของมาลัยครุย
         6.ใช้ประกอบเป็นมาลัยคล้องมือ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุบะ..มาลัย

มาลัยแบน